คนนี้นี่เอง5 สิ่งเปลี่ยนโลก กับ อลัน แมธิสัน ทัวริง [23 มิถุนายน 2455]
.
1️⃣ เครื่องจักรทัวริง กับต้นแบบคอมพิวเตอร์
‘ทัวริง’ บิดาแห่งวิทยาการคอมพิวเตอร์ ได้พัฒนา เครื่องจักรทัวริง หรือ Universal Turing Machine เครื่องจักรที่สามารถทำได้ทุกอย่างเมื่อใส่วิธีการแก้ปัญหาหรืออัลกอริทึมลงไป เป็นต้นแบบของคอมพิวเตอร์ที่ประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ พัฒนาเป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในปัจจุบัน
.
2️⃣ ถอดรหัสอินิกมา ช่วยผู้คนมากกว่า 14 ล้านชีวิต
‘ทัวริง’ วีรบุรุษสงครามโลก หนึ่งในทีมถอดรหัสข้อความลับเครื่องอินิกมา (Enigma Machine) ของฝ่ายนาซี ช่วยให้ฝ่ายสัมพันธมิตรรู้เท่าทันกลยุทธ์ของฮิตเลอร์ สงครามโลกครั้งที่ 2 จึงสิ้นสุดเร็วขึ้น และสามารถช่วยชีวิตผู้คนจากสงครามได้อย่างมหาศาล
.
3️⃣ ปัญญาประดิษฐ์ จากบททดสอบทัวริง
‘ทัวริง’ ผู้บุกเบิกปัญญาประดิษฐ์ ได้คิดค้นบททดสอบความฉลาดของเครื่องจักร หรือ Turing Test โดยให้ผู้ทดสอบปฏิสัมพันธ์กับบุคคล และกับเครื่อง ถ้าผู้ทดสอบแยกแยะไม่ได้ว่ากำลังปฏิสัมพันธ์กับบุคคลหรือเครื่องอยู่ นั่นแสดงว่าเครื่องจักรมีความสามารถเลียนแบบความคิดได้เหมือนมนุษย์
.
4️⃣ จุดกำเนิดดิจิทัลคอมพิวเตอร์
‘ทัวริง’ นำเสนอแนวความคิดเกี่ยวกับวิธีการสร้างคอมพิวเตอร์จากชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในงานทั่วไปที่ไม่ใช่เพียงเครื่องจักรที่ใช้ในการถอดรหัสเท่านั้น แนวความคิดนี้จึงเป็นที่มาของการสร้างคอมพิวเตอร์ยุคแรก (Pilot ACE) ในปี ค.ศ. 1950
.
5️⃣ ถอดรหัสสิ่งมีชีวิต ด้วยกฎทางคณิตศาสตร์
‘ทัวริง’ ใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ชั้นสูงอธิบายการเกิดรูปแบบต่าง ๆ ในธรรมชาติ ว่าเป็นไปตามกฎทางคณิตศาสตร์อย่างไร ผลการศึกษานี้ถือเป็นจุดกำเนิดของทฤษฎีการเกิดลวดลายและสัณฐานของสิ่งมีชีวิต เช่น ลวดลายบนผิวของม้าลาย จุดบนผิวของเสือดาว
.
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
🔸 การแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์ proj14.ipst.ac.th/m4-6-cs/m4-cs/cs-m4b1-012
🔸 แนวคิดด้านปัญญาประดิษฐ์ proj14.ipst.ac.th/m4-6-cs/m6-cs/cs-m6b1-004
.
ข้อมูลอ้างอิง:
🔸 Science Museum www.sciencemuseum.org.uk/.../lovelace-turing-and...
🔸 คลังความรู้ SciMath www.scimath.org/article-mathematics/item/11205-13
.
ที่มาของรูปภาพ:
🔸 spectrum.ieee.org/image/Mjk0MzA5NQ.jpeg
🔸 upload.wikimedia.org/.../Enigma_%28crittografia...
🔸 www.pinterest.co.uk/pin/389491067759399886![]()
#สสวท #IPST #อลัน #Alan #ทัวริง #Turing #enigma #AI #ปัญญาประดิษฐ์
ระบบคอมพิวเตอร์มีการทำงานอย่างเป็นลำดับขั้นตอนที่เรียกว่า sequential ซึ่งบางครั้งโปรแกรมอาจจะต้องตัดสินใจเลือกดำเนินการทางใดทางหนึ่ง การตัดสินใจนี้ทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถและถูกทำไปใช้ในการทำงานที่หลากหลาย เพื่ออำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้กับเราในชีวิตประจำวันครับ โดยการพัฒนาเป็นระบบต่าง ๆ เช่น ระบบกดเจลอัตโนมัติ ระบบประตูอัตโนมัติ เครื่องรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ เป็นต้น
...
สำหรับภาษาไพทอนแล้ว การทำให้โปรแกรมตัดสินใจได้นั้นสามารถใช้คำสั่ง if-else เช่นเดียวกับภาษาอื่น ๆ ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ทุกคนต้องทำความเข้าใจให้ดีคือการหาค่าความจริงในเรื่องตรรกศาสตร์ วิชาคณิตศาสตร์นั่นเอง
...
เอกสารโปรแกรมแบบ Selection ด้วยภาษาไพทอน python.nattapon.com/if-else/
การตัดสินใจ – โปรแกรมแบบทางเลือก (if-else) – การเขียนโปรแกรมภาษาไพธอน
python.nattapon.com
หลังจากที่เราเข้าใจโครงสร้างภาษาไพทอนผ่านการเขียนโปรแกรมไพทอนเต่า (Python Turtle) ไปแล้ว คราวนี้เราจะมาเข้าสู่โหมดการเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ด้วย Text Mode กันครับ
...
กระบวนการแก้ปัญหาของระบบคอมพิวเตอร์เบื้องต้นก็คือ Input -> Process -> Output ดังนั้นในเนื้อหาต่อไปนี้ จะเป็นเรื่องที่ทำให้ทุกคนเข้าใจวิธีการรับข้อมูลเข้าโปรแกรม สามารถแสดงผลข้อมูลได้ และทดลองเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหาอย่างง่ายดูครับ
...
ตามลิงก์ที่ให้มานี้เลย
การแสดงผล elabsheet.org/elab/taskpads/show/fyzvuur3p3/![]()
การรับค่า elabsheet.org/elab/taskpads/show/74em5shqvf/![]()
การคำนวณอย่างง่าย elabsheet.org/elab/taskpads/show/48cjfb2u19/![]()
ลองเขียนเองเลยครับ
elabsheet.org/elab/taskpads/show/mq1kcse2km/
FIZZIQ : แอพฯ STEM สนุกๆ ครับ
...
FIZZIQ มีความสามารถทางวิทยาศาสตร์หลายอย่างครับ วันนี้จะขอแนะนำโหมด Colormeter ซึ่งเกี่ยวกับการวิเคราะห์และวัดค่าสีในวัตถุ เอาไปใช้จัดการเรียนการสอน STEM กรือวิทยาศาสตร์ได้เป็นอย่างดีเลยครับ
...
เช่น เอาไปวัดค่าสีในใบไม้ในระยะต่างๆ วัดค่าสีของน้ำ หรือของวัตถุต่างๆครับ